Micro Korg
By พรหมพงษ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

หลายวันก่อนมีกล่องขนาดใหญ่ส่งมาให้ผมจาก "มิวสิค คอนเซปท์" เปิดออกดูก็พบ Keyboard ตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งอยู่ข้างใน มันคือ Korg รุ่น Micro Korg"ฮืมม....ดูเหมือนของเด็กเล่นนะ" ผมนึกในใจ ภาระกิจค่อนข้างยุ่งอยู่มากตอนนั้น ก็เลยวางไว้อย่างนั้น ก่อน ยังไม่ได้ลองเลยในทันที
ตอนแรกที่เห็นมันบอกตามตรงว่าไม่ได้รู้สึกมีแรงกระตุ้นอะไรให้ทดลองเล่นเจ้าตัวน้อยนี้ อย่างเดียวที่อยู่ใน ความคิดคือ มันมีไมโครโฟนมาให้ด้วยก็เลยพอคาดเดาได้ว่ามันจะต้องทำหน้าที่เป็น Vocoder ด้วยแน่นอน ซึ่งทำให้รู้สึกน่าสนใจขึ้น  อยากรู้ว่าเสียง Vocoder มันเป็นอย่างไร แต่ก็กะว่าไว้วันหลังว่างๆ ค่อยลองมันดู

   
 
พอวันนี้ว่างจากงานประจำก็เลยลองเอามันมาทดสอบหน่อย เจ้าคีย์บอร์ดตัวน้อยนี่รูปร่างดูไม่ค่อยแข็งแรงนัก แต่กระนั้นลองเคาะๆ จับๆ ดูแล้วก็พบว่า แข็งแรงพอสมควร เว้นแต่ไมโครโฟนที่ทำเป็นรูปทรงคอห่าน เสียบติดกับตัวของมันได้เลยนั้นดูกระด๊องกระแด๊งไปนิด แต่ถ้าคิดในแง่ว่าดีกว่าต้องไปหาซื้อไมโครโฟนมาใส่เอง ก็พอจะทำให้ลืมข้อนี้ไป 

เคสของมันเป็นพลาสติก การออกแบบธรรมดาๆ ที่ไม่ได้ดูเร้าใจอะไรเลย มันมีคีย์ขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งที่ทำให้มันดูเป็นเหมือนของเด็กเล่น แต่ก็มีสัมผัสและ ความมั่นคงพอใช้ได้ มีปุ่มใหญ่อยู่ 1 ปุ่ม ใช้ทำหน้าที่เปลี่ยน Bank ของโปรแกรม ปุ่มขนาดกลาง 2 ปุ่ม สำหรับเลือกโหมดปรับแต่งเสียง (Edit) และปุ่มขนาดเล็ก 5 ปุ่ม ซึ่งทำหน้าที่เป็น Aassignable Parameter ซึ่งจะเปลี่ยนหน้าที่ไปตามแต่โหมด Edit ที่เลือก ซ้ายมือมีปุ่มเล็กอีกอันเป็น Volume ด้านซ้ายจะมีสวิทช์กดของภาค Arpeggiator หนึ่งอัน ถัดลงมาเป็นสวิทช์เปลี่ยนอ๊อคเตฟขึ้นลงอีก 2 อัน เนื่องจากคีย์ขนาดเล็กของมันนั้นมีความยาวแค่ 3 อ๊อคเตฟ เท่านั้น ซึ่งต้องการการเปลี่ยนอ๊อคเตฟอย่างรวดเร็วเมื่อต้องเล่นกับพื้นที่มากขึ้น ตรงกลางมีสวิทช์เปลี่ยนโปรแกรม อีก 8 อัน (1-8) สวิทช์เปลี่ยนหน่วยความจำ (A-B) และ Write กับ Shift สวิทช์ ข้าง Keyboard ด้านซ้ายมีล้อ Pitch Bend และ Mod Wheel อีกอย่างละอัน

ดูที่คอนเนคเตอร์ข้างมันมีช่องเสียบ Midi ตามมาตรฐาน คือ In, Out, Thru มีช่องสัญญาณหูฟัง 1 อัน, output L-R 1 คู่,
มีช่อง input สองแบบ *Audio In 1 มีช่องเสียบ Coudenser ไมค์ที่ให้มา 1 ช่อง หรือจะต่อ Dynamic ไมค์ที่คุณมีอีก 1 ช่อง มีปุ่มปรับความแรงของสัญญาณ 1 อัน และ สวิทช์เลือก Mic-Line *Audio In 2 เป็นช่อง Line In ซึ่งมีปุ่ม Volumeปรับความแรงของสัญญาณได ้เช่น กัน ด้านมุมขวาของตัวเครื่องมีช่องต่อ Power Adaptor DC9V กับสวิทช์ปิด/เปิด (on/off)

ลองหยิบ Manual ขึ้นมาดู เผอิญว่ามี Broshure อยู่ด้วย ผู้ผลิตบรรยายสรรพคุณไว้สรุปคร่าวๆ สองระบบ Analog Synthesizer โดยมีพื้นฐานระบบมาจาก MS2000 ซึ่งเป็น Synth ตัวแสบของ Korg ที่ตามรอยและชุบชีวิตให้กับบรรพบุรุษ ของมันคือ MS20, MS50, Mono-Poly ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ นั้นเอง แถมด้วย VC10 Vecoder ที่โด่งดังในอดีต เข้าไปโดยใช้ระบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยี Physical Modeling อันแสนล้ำหน้าเพื่อจำลองระบบดังกล่าว โดยเรียกว่า Analog Modeling ซึ่งนอกจาก จะจำลองระบบ Analog ได้เหมือนแล้ว ยังเพิ่มศักยภาพใหม่ๆ อีกมากมายเข้าไป จนมีความซับซ้อนยิ่งกว่าระบบ Analog ขนาดใหญ่ เช่น Modular Synth เสียด้วยซ้ำ

 
   
 
เราจะมาดูกันซิว่าเสียงของมันจะเป็นอย่างไร


กวาดตามองดู Manual คร่าวๆ มันเขียนมาได้เรียบร้อยเข้าใจง่าย กระนั้นผมก็ไม่ได้อ่านมันจริงจัง ตัวเครื่อง Micro Kogr นี้ดูดูแล้วก็เข้าใจได้ทันทีว่าอะไรจะทำงานอย่างไร ลองเล่นดูเลยแล้วกัน

พอเปิดสวิทช์แล้วเล่นเสียงมันครั้งแรก บอกตามตรงว่าช๊อค! ตกใจมาก ยิ่งเปลี่ยนแต่ละโปรแกรมขึ้นมาเล่นก็ยิ่งตกใจ เสียงดีมาก ใหญ่, แน่น, ซับซ้อน, ดุดัน, เผ็ดร้อน นี่มีครบทุกแบบ อย่าได้ปล่อยให้รูปร่างหน้าตาของมันหลอกคุณเป็นอันขาด เสียงของมันไม่ได้ ล้อเล่นเหมือนกับขนาดของมันเลย

โปรแกรมเสียงนั้นแบ่งออกเป็นหมวดๆ คือ Trance, Techno/House, Electronica, DnB/Breaks, Hip Hop/Vintage, Retro, Sound FX และ Vocoder มีหน่วยความจำรวม 128 เสียงด้วยกัน อันนี้น้อยไปหน่อยน่าเสียดาย จริงๆ เสียงอย่างนี้น่าจะมีหน่วยความจำเยอะกว่านี้ ผมคงจะปรับเสียง อย่างเพลิดเพลินกับการสร้างเสียงใหม่ๆ  คิดว่าหลายคนจะ ต้องเป็นแบบผมแน่ๆ แต่จะมีที่ให้เก็บเสียงที่เราปรับ ไม่พอตามความต้องการแน่ๆ

อย่างที่ผู้ผลิตคุยไว้ มันทำอย่าง???ไม่ได้จริงๆ เสียงในแต่ละหมวดหมู่นั้นให้คุณภาพเหมาะสมการใช้งาน และจำลองมาได้ดี zขณะที่คุณปรับมันอยู่ ถ้าคุณเคยมือกับ Analog Synth จริงๆ มาก่อนอย่างผม คุณจะเผลอลืมในที่สุดว่าคุณกำลังเล่น Synth Analog จริงๆ อยู่จริงๆ

ด้วยความที่อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ผมอดใจที่จะเก็บไว้ลอง Vocoder ทีหลัง ในที่สุดก็ทนไม่ไหว ทดลองไมโครโฟนที่ให้มา กับเครื่องตอนแรกอาจต้องทำความคุ้นเคยกันก่อน รวมทั้งปรับแต่ง Gain ให้พอ เหมาะ ไมค์ที่ให้มาเป็น Condenser คุณต้องระวังที่จะไม่กระแทกเสียงใส่มันใกล้ๆ และแรงเกินไป มี Led   อยู่สองเม็ด (1-2) ไว้แสดงระดับสัญญาณของ Audio In ทั้งสองอัน ระวังอย่าให้ไฟเป็นสีแดง ถ้าเป็นสีเขียวก็ OK หรือแม้จะเป็นสีส้มบ้างก็ยัง OK อยู่

Vocoder นั้นเป็นระบบที่จะทำการเปลี่ยนเสียงร้องหรือเสียงพูดของเราที่ผ่านไมโครโฟนเข้าไปให้เปลี่ยนเป็นเสียงที่ เครื่องสร้างขึ้น ซึ่งก็เป็น Synthesizer ชนิดหนึ่ง ซึ่งนำการเปล่งเสียงของคนไปผสมกับคาแรคเตอร์ของsynth ใน vocoder ซึ่งเสียงที่ได้จะมีระดับ Pitch ตาม Key ที่เรากดบนคีย์บอร์ด ถ้ากดตัวเดียวก็เป็นเสียงเดียว ถ้ากดเป็นคอร์ด มันก็จะเป็นคอร์ด แม้ว่าเราจะร้องเข้าไปแค่เสียงเดียวก็ตาม เป็นเครื่องที่เล่นสนุกมากๆ ผมเองเคยมีและยังมีอยู่หลายตัว ไม่เคยทิ้ง และใช้มาตลอด

อีกครั้งหนึ่งที่ประทับใจ เสียง Vocoder ของมันดีมากเช่นกัน ถ้าคุณใช้ไมค์ที่ให้มา คุณควรจะเปล่งเสียงให้ ใสและเคลียร์ๆ ไว้ให้ซึ่บซั่บหน่อย คุณจะเล่นมันได้สนุก เสียงนั้นคมชัดและละเอียดดีมากๆ

อย่างไรก็ดี ขณะที่ผมมันส์มากขึ้นและเริ่มเร่งลำโพงโมนิเตอร์ให้ดังขึ้นก็พบปัญหาขึ้นมา Mic คอนเดนเซอร์ ที่ให้มานั้นไวมากๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน มันรับเอาเสียงอื่นๆ เข้ามาได้ง่ายและหอน (feedback) ได้ง่ายด้วย ไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องเกิดปัญหาเมื่อเล่นมันในคอนเสิร์ทที่เสียงดังมาก ผมจึงเปลี่ยนมาลองใช้ Dynamic ไมค์ ซึ่งหมดปัญหาไปในทันที ทั้งยังกระแทกเสียงร้องใกล้ได้ เพราะไมค์ประเภทนี้มีไดอะเฟรม ที่แข็งแรงกว่าพวกคอนเดนเซอร์ไมค์และไม่ไว ซึ่งคุณต้องใช้ Dynamic Mic ถ้าคุณใช้มันเล่นในบาร์หรือ คอนเสิร์ท เสียงมันยังคงดีอยู่แม้ขาดความใสไปเล็กน้อย แต่ควบคุมได้ง่ายกว่ามาก ในขณะที่ Condenser ไมค์ที่ให้มาร้องแรงไปนิดก็ทำให้เสียงแตกได้

หลังจากลองดูสักพัก ผมก็ลองกด Demo ของมันฟังดู อีกครั้ง Korg รุ่นนี้ทำ Demo เซ็งจริงๆ ไม่ตื่นเต้นเอาเลย ฟังได้นิดหน่อยก็เลิก ปิดดีกว่า


 
   
 
มาดูโครงสร้างหลักของมันกัน

มันมี Oscillator อยู่สองหน่วย ซึ่งบรรจุด้วย Waveform มาตาฐานคือ Saw, Square, Triangle, Sine, บวกด้วย Vox Wave ที่ให้คาแร็คเตอร์เสียงแบบคน และยังมี Wave Table ของระบบที่มีชื่อเสียง ของ Korg คือ DWGS อีก 64 waveform, มีสัญญาณ Noise หรือจะเลือกรับเสียงที่เข้ามาทาง Audio In ก็ได้ เช่น เอา Guitar เข้ามาใช้เป็น Source ผ่าน Synthesizer ตัวนี้

 มันมี Filter ที่สามารถเลือกได้หลายแบบ ตั้งแต่ -24dB LPF, -12dB LPF, -12dB FPF และ -12 db HPF มีฟังก์ชั่น Cut-Off Frequency, Resonance, Filter EG int. และ Filter Key Track
มันมี ???? ให้ทั้งภาค Filter และภาค Amplifier ซึ่งก็เป็นแบบมาตรฐานใน Synthทั่วไป คือ ADSR (Attack, Decay, Sustain, Release) มี 2 LFO และยังมีฟังก์ชั่น Virtual Patch ที่สามารถให้คุณ เชื่อมโยงฟังก์ชั่นต่างๆ เข้าหากันเหมือนกับเวลาที่คุณโยงสายบนระบบโมดูลาร์ใหญ่ๆ เช่น เชื่อม Mod Wheel เข้ากับ Filter เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นอีกมากที่ปรับแต่งภาค Vocoder นอกเหนือไปจากฟังก์ชั่นหลักๆ ที่คล้ายๆ กับภาค synth อย่างเช่น ภาค Formant ที่เปลี่ยนคาแร็คเตอร์ของเสียงคนให้เปลี่ยนไปได้มากมายหลายแบบ
เอฟเฟ็คที่ให้มาก็ OK ไม่ได้พิสดารอะไรแต่ก็เสียงดี ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ พวกตระกูล Chorus, Flanger หรือ MOD FX กับ Delay

ถ้าจะลงท้ายก็คงต้องบอกว่าตัวแสบน้อยนี้เยี่ยมจริงๆ มันราคาถูกและเป็นอาวุธชั้นเยี่ยมสำหรับนักโซโล่ ที่พกพาได้ง่าย ด้วยความขัดใจกับ Demo ของโรงงาน ผมก็เลยทำให้ใหม่ซะเลย ลองไปดาวน์โหลดฟังดูได้ที่.... ทุกเสียงที่ได้ยิน (ยกเว้นกลอง) มาจาก Micro Korg ทั้งหมด สมแล้วที่ได้รางวัล Key Buy จาก "นิตยสาร Keyboard"


 

    ©Copyright 2005 Beh Ngiep Seng Musical Instruments Ltd.,Part. All reserved.