Fender Telecaster

Fender Telecaster ได้รับการยอมรับว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าลำตัวตัน (solid-body) ตัวแรกของโลกที่ถูกผลิตเป็น ระบบอุตสาหกรรม (mass production)  เต็มรูปแบบ ในช่วงปลายทศวรรษ '40 Leo Fender ชายหนุ่มผู้กระตือรือร้นและเต็มไปด้วยความฝัน เขาตั้งใจจะสร้างกีตาร์ตามแนวคิดที่ว่า
  1. ต้องสร้างซ่อมและใช้งานง่าย
  2. ต้องมีบอดี้เป็นไม้ตัน
  3. คอต้องเป็นไม้ชิ้นเดียวและสามารถถอดประกอบได้
  4. แม่เหล็กของปิ้กอัพจะต้องแยกเฉพาะสำหรับแต่ละสาย และ
  5. บริดจ์จะต้องสามารถปรับแต่งได้เต็มที่ ทั้งหมดเป็นความคิดที่ถือว่าแปลกแหวกแนวมาก สำหรับช่วงเวลาที่คนรู้จักแต่กีตาร์ไฟฟ้า archtop หรือ hallow-body (บอดี้โปร่ง) อย่างในขณะนั้น

 

ประวัติของ Telecaster

ปัจจุบัน Telecaster ก็มีอายุอานามปาเข้าไปขวบปีที่ 50 กว่าแล้ว และกว่าจะเป็น Tele มากมายหลายรุ่นอย่าง ทุกวันนี้มีเบื้องหลังความเป็นมาที่น่าสนใจมากมาย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเดี๋ยวเรามาดูกัน
ก่อนที่จะมาเป็น Telecaster เราสามารถสรุปออกมาได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือ
  • ช่วงที่เป็น ESQUIRE
  • ช่วงที่เป็น BROADCASTER
  • และช่วงที่เป็นTELECASTER
ในปี1949 เป็นช่วงออกแบบกีตาร์ตัวต้นแบบทั้งด้านรูปทรงและ ส่วนประกอบต่าง ๆ ลักษณะที่ออกมาก็จะ มีรูปทรง บอดี้คล้าย ๆ กับ Tele ปัจจุบัน ใช้คอไม้เมเปิลชิ้นเดียว มี 21 เฟร็ต บอดี้เป็นไม้ไพน์วูด (pinewood) ยังไม่ได้ใช้ ไม้แอช (Ash) ขนาดของนัทกว้าง 2 นิ้ว ส่วนสัญลักษณ์บอกตำแหน่งหรือ position marker ก็ใช้วิธีแต้มเป็นจุดกลม เล็กๆสีดำยังไม่ได้ทำเป็นอินเลย์ ติดปิ้กการ์ดสีดำ และใช้วิธีต่อคอเข้ากับบอดี้โดยใช้สกรู 4 ตัวยึดเอาไว้ การต่อคอแบบนี้เราเรียกว่า bolt-on ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกีตาร์ Fender เลยทีเดียว

ปิ้กอัพที่ใช้เป็นซิงเกิลคอยล์ 1 ตัวติดไว้ที่ตำแหน่งใกล้บริดจ์โดยวางไว้ในลักษณะเฉียง ๆ เหตุผลก็คือ โดยปรกติแล้วหากเราดีดสายใกล้ปิ้กอัพบริดจ์ เราจะได้เสียงแหลมที่พุ่งมากแต่ขาดความทุ้มหนาและการวางปิ้กอัพ เฉียงลงแบบนี้ก็จะช่วยให้เราได้เสียงของสายใหญ่ๆที่มีพลังและหนาแน่น ในขณะที่สายเล็ก ๆ ก็จะแหลมพุ่งทำให้ เกิดความบาลานซ์ของซาวน์ด

บริดจ์ก็จะเป็นแบบวินเทจแท้ๆใส่สายทะลุจากทางด้านหลังของบอดี้ (string-through-body) ทำให้ได้ซัสเทน ที่ดีขึ้น แซดเดิลเป็นทองเหลือง 3 ชิ้นสำหรับให้สายพาดเป็นคู่ๆ

ต้น ค.ศ.1950 การออกแบบขั้นพื้นฐานก็เกือบเสร็จสมบูรณ์ แต่ตัว Leo เองต้องการให้กีตาร์มี 2 ปิ้กอัพเพื่อการใช้งานที่ กว้างขึ้น สรุปแล้วตอนนี้เรามีกีตาร์ 2 เวอร์ชั่นคือตัวที่มีปิ้กอัพเดียวกับ 2 ปิ้กอัพ

ในตอนแรกเวอร์ชั่นที่เป็นปิ้กอัพเดียวนั้นมีการติดตั้งสวิชต์ปรับโทนแบบพิเศษที่เมื่อปรับแล้วจะได้ซาวน์ดที่หนาขึ้นเรียกว่า deeprhythm-tone แทนที่จะเป็นโทนออกแหลมพุ่ง ตามธรรมชาติของมัน และไอเดียนี้ก็ถูกนำไปใช้กับเวอร์ชั่นที่เป็น 2 ปิ้กอัพด้วย ช่วงต้นปี 1950 ตัวที่เป็นปิ้กอัพเดียวก็ได้ถูกนำออกเปิดตัวก่อนโดยใช้ชื่อโมเดลว่า "ESQUIRE" ต่อมา Esquire เวอร์ชั่นปิ้กอัพคู่ก็เปิดตัวตามมา อย่างไม่เป็นทางการในงาน NAMMเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน(ที่บอกอย่างนี้ ก็เพราะยังไม่มีการทำออกจำหน่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัวและขายเฉพาะขายตรง ให้กับนักดนตรีในท้องถิ่น เหมือนเป็ นการทดลองตลาดอะไรทำนองนั้น)

สมัยใหม่ในจุดที่เห็นชัดเจนก็คือ Esquire ยังไม่มีการฝังทรัสรอด (trussrod) หรือเหล็กขันคอ และยังไม่ ติดสตริง ทรี (string tree) ที่หัวกีตาร์ลูกบิดก็จะเป็นแบบวินเทจคือที่แกนพันสายจะมีแฉกทีเราเรียกว่า slot-head และยังไม่มีระบบการพิมพ์ตัวเลข Serial No.

พัฒนาการขั้นต่อมาคือในช่วงซัมเมอร์ปี 1950 ได้เริ่มมีการติดตั้งทรัสรอดไว้ภายในคอของกีตาร์ Fender ทุกตัว ในตอนแรก ยังไม่ค่อยเห็นด้วยในเรื่องนี้เพราะเขาเชื่อว่าคอไม้ฮาร์ดร็อคเมเปิลนั้นแข็งแรงพอที่จะ ต้านแรงดึงของสายได ้ แต่ภายหลังเขาก็เปลี่ยนใจ ก็น่าอยู่หรอกครับมันก็จริงอยู่ที่ไม้เมเปิลนั้นแข็งแรงพอ แต่เมื่อกีตาร์ถูกนำออกจำหน่ายกว้างขึ้น มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆที่มีสภาพภูมิอากาศต่างกัน ไม้ก็เกิดอาการยืดหดตัวซึ่งทรัสรอดจะช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้มากทีเดียว

 
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกันนั้นเอง Fender ก็ได้เปิดตัวกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิ้กอัพ 2 ตัวอย่างเป็นทางการ เนื่องจากในตอนแรกคนจะคุ้นเคยกับ รุ่นปิ้กอัพเดี่ยวในชื่อ Esquire มากกว่า และเมื่อมีเวอร์ชั่นใหม่ออกมา ก็น่าจะมีการแบ่งให้ชัดเจน Fender จึงตั้งชื่อให้กับกีตาร์ตัวใหม่ 2 ปิ้กอัพของพวกเขาว่า"BROADCASTER"  ส่วนรุ่นที่ใช้ปิ้กอัพตัวเดียวก็ให้ใช้ชื่อว่า Esquire ไป และบริษัทก็เล็งเห็นว่า การผลิตควรจะเน้นที่เวอร์ชั่นใหม ่มากกว่าBroadcaster ถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่ามันเป็น กีตาร์ไฟฟ้าบอดี้ตันตัวแรกของโลก ที่สร้างขึ้นในรูปแบบอุตสาหกรรมเต็มตัว ถึงตอนนี้เราจะเห็นว่า สิ่งที่Broadcaster แตกต่างจาก Esquire 2 ปิ้กอัพก็คือ Broadcaster ใช้คอไม้เมเปิลชิ้นเดียวซึ่ง มีการฝังทรัสรอดแล้ว
 
 


นอกจากนี้ Broadcasterf ยังใช้บอดี้ไม้แอชและติดสติง ทรี แบบกลมที่หัวกีตาร์สำหรับกดสาย E กับ B ใช้แซดเดิลทองเหลือง แต่ในขณะที่ทุกอย่างกำลังไปได้สวยงามก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้Fender ไม่สามารถที่จะ ใช้ชื่อ Broadcaster ต่อไปได้ต้นปี 1951 Fender จำเป็นต้องหยุดใช้ชื่อ Broadcaster ไป  เนื่องจาก บริษัทเครื่องดนตรี Gretsch ได้แจ้งว่าพวกเขาได้จดทะเบียนการค้าชื่อ "Broadkaster" เป็นชื่อซีรีส์กลองชุด ของพวกเขาไว้ก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าจะเขียนต่างกันเล็กน้อยแต่ Fender ก็ไม่อยากให้มีปัญหาและเพื่อป้องกันความสับสน จึงตัดสินใจหาชื่อใหม่ในระหว่างรอผลการสรุป Leo Fender ไม่ยอมปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเสียเปล่า เขายังคงเดินหน้าผลิตกีตาร์ออกจำหน่ายต่อไป โดยที่ไม่มีชื่อโมเดลพิมพ์ไว้ที่หัวกีตาร์ต่อมาภายหลังบรรดานักสะสม ตั้งชื่อให้เล่นๆว่ารุ่น "No-Caster" และผลิตเรื่อยมาจนถึงเดือนสิงหาคมปี 1951

สืบเนื่องจากขณะนั้นเป็นช่วงที่คนอเมริกันกำลังเห่อกับนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าโทรทัศน์(Television)และ หลังจากตรวจสอบ อย่างถี่ถ้วนแล้วว่าคราวนี้ชื่อจะไม่ไปซ้ำกับใครอีกแน่ๆ Fender จึงประกาศตั้งชื่อใหม่ ให้กับกีตาร์ของพวกเขาว่า TELECASTER ซึ่งก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ถึงตอนนี้เราก็พอสรุปได้ว่า Broadcaster, No-Caster และ Telecaster ตัวแรกๆที่ผลิตในปี1951ก็คือกีตาร์ไฟฟ้าชนิดเดียวกัน นั่นเอง ไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตาเท่านั้นแต่ยังใช้ระบบวงจรไฟฟ้าเหมือนกันอีกด้วย ประเด็นหลักเลยก็คือปุ่มปรับ Tone ที่ต่างจาก Tele ปัจจุบันที่ตอนนั้นปุ่ม Tone ยังทำหน้าที่เป็นตัวผสมปิ้กอัพทำงานร่วมกับสวิชต์ปิ้กอัพ ยังไม่ใช่ปุ่ม Tone จริงๆเสียทีเดียว ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายไว้ในเรื่องของปิ้กอัพต่อไป


 

    ©Copyright 2005 Beh Ngiep Seng Musical Instruments Ltd.,Part. All reserved.