|
Valvetronix ToneLabSE
Valvetronix ToneLabSE มัลติเอฟเฟกต์โมเดลลิ่งคอนเส็พต์ใหม่จาก Vox ที่ผสมผสานความโดดเด่นของเทคโนโลยีอนาล็อก และดิจิตัลเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ด้วยระบบเซอร์กิตอัจฉริยะ "Valve Reactor" ประดิษฐกรรมพิเศษเฉพาะจาก Vox และเทคโนโลยีดิจิตัลโมเดลลิ่งชั้นสูง ทำให้ ToneLabSE กลายเป็นเอฟเฟกต์โปรเซสเซอร์ขนาดใหญ่ที่ปฏิวัติรูปแบบใหม่ของโลกโมเดลลิ่งจนถึงขั้นสามารถ "สร้างเสียงแท้ๆของแอมป์หลอด" ไม่ใช่แค่ "จำลองเสียงให้เหมือนแอมป์หลอด" เท่านั้น
|
|
|
|
|
|
Valve Reactor Technology
เทคโนโลยี Valve Reactor ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในแอมป์ Vox ซีรี่ส์ Valvetronix ซึ่งใน ToneLabSE ก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้เช่นกันเพียงแต่มีการปรับแต่งสมรรถนะให้เหมาะกับการแสดงดนตรีสดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากเอฟเฟกต์โมเดลลิ่งทั่วๆไปที่นิยมนำมาใช้บันทึกเสียงแบบต่อตรงเข้าไลน์ มักจะไม่นิยมติดตั้งวงจรเพาเวอร์แอมป์และตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์ไว้ด้วย เนื่องจากเอฟเฟกต์ไม่ได้ต่อเข้าที่ลำโพงโดยตรงนั่นเอง พูดง่ายๆก็คือแอมป์โมเดลลิ่งทั่วไปจะมีแค่วงจรปรีแอมป์เท่านั้นแต่ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโทนหรือซาวด์ของแอมป์หลอดนั้นไม่ได้เกิดจากปรีแอมป์เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงโทนและเสียงแตกจากเพาเวอร์แอมป์ที่กระทำ ต่อลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่างๆกันอีกด้วย
นอกจากนี้ในส่วนของเอาต์พุต ToneLabSE ได้ติดตั้งระบบวงจรเพาเวอร์วัตต์ต่ำและตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์เสมือนจริงที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (solid-state) เลียนแบบการทำงานของตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์เมอร์ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง "แม่แบบวงจร" สำหรับควบคุมการเปลี่ยนแปลงค่าอิมพีแดนซ์เพื่อให้ตรงกับค่าอิมพีแดนข์ของลำโพงจริงที่ถูกเลือกใช้อีกด้วย
เราจะเห็นว่าในส่วนของคลังเสียงที่เป็นการจำลองจากของจริง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแอมป์โมเดลลิ่ง คาบิเน็ตโมเดลลิ่งหรือในส่วนของเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆนั้นจะเกิดจากการทำงานด้วยระบบดิจิตัลล้วนๆ แต่ในส่วนของเพาเวอร์แอมป์ Valve Reactor นั้นถือได้ว่าเป็นอนาล็อก 100% และส่วนสำคัญอยู่ที่การติดตั้งหลอด 12AX7 หรือ ECC83 (12AX7 เป็นการเรียกแบบอเมริกันส่วน ECC83 เป็นการเรียกแบบอังกฤษ) ซึ่งเป็นหลอดแบบ "ดูอัล ทรัยโอด" (dual triode) หมายความว่ามีสองหลอดอยู่ในหนึ่งเดียว และถูกติดตั้งอย่างปลอดภัยภายใต้แคปซูลแก้ว ข้อดีจากการที่สัญญาณกีตาร์ของเราได้ผ่านกระบวนการอนาล็อก ในขั้นตอนสุดท้ายนั้นจะช่วยให้ซาวด์ที่เกิดจากการจำลองด้วยระบบดิจิตัลมีความอุ่น วอร์ม ตอบสนองต่อฟีลการเล่น และให้น้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติตามแบบของแอมป์หลอดและตู้ลำโพงนั้นจริงๆ
เพาเวอร์แอมป์เอาต์พุตของ Valve Reactor ใน ToneLabSE นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ "อ่าน" การเปลี่ยนแปลงของค่าอิมพีแดนซ์ของระบบวงจร "ลำโพงแม่แบบ" ที่อยู่ในเครื่อง จากนั้นก็จะ "ส่ง" ข้อมูลที่ได้กลับไปที่ตัวเอาต์พุตทรานซฟอร์มเมอร์เช่นเดียวกับการทำงานของแอมป์หลอดแท้ๆ
นอกจากระบบเพาเวอร์แอมป์อัจฉริยะนี้แล้ว ToneLabSE ยังมีการ "ถอดแบบ" หรือจำลองแบบการทำงาน "ลักษณะวงจร" ซึ่งเป็นแคแรกเตอร์เฉพาะตัวของเพาเวอร์แอมป์ในแอมป์หลอดแต่ละชนิดที่ถูกจำลองมา แคแรกเตอร์วงจรที่ว่านี้เราแบ่งเป็นสองลักษณะการทำงานคือแบบ Class A และ Class AB, วงจรคอนโทรล Presence และ Resonance ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่น และความแตกต่างของแอมป์รุ่นคลาสสิกแต่ละชนิด จึงทำให้เราได้น้ำเสียงแท้ๆของแอมป์ชนิดนั้นๆที่เราเลือกอย่างแท้จริง
|
|
|
|
|
|
แอมป์ และ คาบิเน็ต โมเดลลิ่ง
Vox ได้บรรจงเลือกสรรแอมป์หลอด 16 ชนิดที่ถือได้ว่าคลาสสิกที่สุดในโลกมาบรรจุไว้ใน ToneLabSE มีทั้งซาวด์แบบอังกฤษอย่าง AC15 หรือ AC30 ซึ่งเป็นแอมป์ของ Vox เอง หรือจะเป็นซาวด์แบบอเมริกันอย่าง Tweed หรือ US Hi Gain ไ ปจนถึงพวกแอมป์ไฮ-เอนด์คัสตอมเมด ประเภทแฮนด์เมดสั่งทำเป็นการเฉพาะ ครอบคลุมทั้งแอมป์รุ่นวินเทจที่ให้เสน่ห์ซาวด์ในแบบวินเทจแท้ๆ ไปจนถึงแอมป์สมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมหลายๆรุ่น มีตั้งแต่แอมป์ที่โดดเด่นในเรื่องของเสียงใสไปจนถึงแอมป์ไฮ-เกนที่ให้พลังขับพุ่งดุดัน และเมื่อเราเลือกชนิดของแอมป์แล้ว วงจรเพาเวอร์แอมป์ของ ToneLabSE ก็จะคำนวณลักษณะการทำงานของเพาเวอร์แอมป์จากของจริง เช่นว่าแอมป์ที่เราเลือกนั้นเป็นแอมป์ Class A หรือ Class AB ใช้หลอดชนิดไหน EL84s, EL34s, 6L6s หรือ 6V6s อย่างเช่นถ้าเราเลือกแอมป์โมเดลเป็น AC30TB ซึ่งแอมป์ Vox AC30 จริงๆนั้นจะเป็นแอมป์แบบ Class A ใช้หลอดเพาเวอร์แอมป์ EL84 ซึ่งวงจร Valve Reactor ใน ToneLabSE ก็จะปรับตัวเองไปตามลักษณะการทำงานนั้นทันที
นอกจากนี้ยังมีการจำลองแบบตู้ลำโพงยอดนิยมไว้อีกถึง 11 แบบ ซึ่งคำนวนตามการออกแบบของตู้นั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าอิมพีแดนซ์ของลำโพงที่มีความสำคัญต่อเอาต์พุตของแอมป์หลอด รวมถึงจำนวนดอกและชนิดแม่เหล็กของดอกลำโพงที่ใช้ ไปจนถึงลักษณะการออกแบบตู้ ความหนาของไม้ที่ใช้ทำตู้ แม้กระทั่งเป็นตู้หลังเปิดหรือหลังปิด อย่างเช่น ถ้าคุณเลือกตู้ Tweed 4x10 คุณก็จะได้ตู้ที่ให้ซาวด์แบบอเมริกัน ลำโพงใช้แม่เหล็ก Alnico เป็นตู้หลังเปิด ใช้ลำโพงขนาด 10" สี่ดอก และมีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เป็นต้น
สาเหตุที่ Vox ให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ก็เพราะว่า ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณได้ซาวด์ที่น่าพึงพอใจ ไม่ใช่แค่ใกล้เคียงแต่ได้อย่างที่ต้องการจริงๆ และคุณสามารถเลือกชนิดของแอมป์มาใช้งานร่วมกับชนิดของตู้ลำโพงได้อย่างไม่มีข้อจำกัด มีเพียงแค่ความพอใจของคุณเท่านั้น
เอฟเฟกต์
ToneLabSE เป็นแหล่งรวมคลังเสียงเอฟเฟกต์กีตาร์ไว้มากมาย ซึ่งจะมีการแบ่งไว้ประเภทหมวดหมู่คือ
|
|
Pedal |
16 ชนิด |
Compressor, Acoustic Simulator, Vox Wah, Auto Wah, U-Vibe (Univox Univibe), Blk/Org Phaser, Octave, Ring Modulator, Treble Boost, Tube Overdrive, Super Overdrive, Boutique, Fat Overdrive, Orange Distortion, Fuzz และ OctaFuzz |
Modulation |
11 ชนิด |
Classic Chorus, Stereo Chorus, Classic Flanger, Bi Chorus, Duo Phase, TexTrem, Rotary, Pitch Shifter, Mod Delay, Filtron และ Talk Mod |
Delay |
11 ชนิด |
Echo Plus, Multi Head, Analog Delay, Mod Delay, Sweep Delay, Stereo Delay, Cross Delay, Top Delay, Rhythm Delay, Hold Delay และ Reverse Delay |
Reverb |
11 ชนิด |
Spring1, Spring2, Plate1, Plate2, Chamber1, Chamber2, Room1, Room2, Hall1, Hall2 และ Gate |
|
|
ครบถ้วนตั้งแต่เอฟเฟกต์แบบก้อนสตอมพ์บ็อกซ์ไปจนถึงเอฟเฟกต์ระดับคุณภาพสูงที่ใช้งานในห้องบันทึกเสียง หรือแม้แต่เอฟเฟกต์อนาล็อกหายากที่น้ำเสียงยังคงเป็นที่คิดถึงอยู่จนทุกวันนี้อย่าง Chorus โบราณ ตู้ลำโพงหมุนแบบตู้ Leslie และ Delay/Echo ชนิดวินเทจแท้ๆที่สร้างด้วยเทปเป็นต้น ไม่เท่านั้น เอฟเฟกต์บางตัวคุณยังสามารถเปลี่ยนการเซ็ตติ้งเอาต์พุตได้อีกด้วย จะให้เป็นแบบโมโน สเตอริโอ หรือจะให้เป็นสเตอริโอโดยสัญญาณออกเป็น มี/ไม่มี เอฟเฟกต์ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเรียงเอฟเฟกต์ Modulation, Delay และ Reverb ได้อย่างหลากหลาย สามารถเลือกใช้ได้กลุ่มละ 1 ชนิดหรือ 4 เอฟเฟกต์พร้อมกันรวม Noise Reduction อีกหนึ่งตัว ปุ่มปรับค่าต่างๆเข้าใจง่าย สามารถปรับให้ตรงกับรสนิยมการเล่นของคุณได้อย่างไม่ยุ่งยาก
และเมื่อปรับซาวด์ได้ตรงใจแล้ว คุณสามารถเก็บชนิดของแอมป์ ตู้ลำโพง และการปรับแต่งเอฟเฟกต์ไว้เป็นเสียงประจำตัวของคุณเอง ได้ด้วยการจัดเก็บไว้ในเมมโมรี่ที่สามารถเก็บได้มากถึง 96 โปรแกรมเสียง แต่ละโปรแกรมสามารถจัดเก็บไว้ได้ 2 แชนนัล คือ A และ B นอกจากนี้ยังมีพรีเซ็ตโปรแกรมเสียงคลาสสิกของแอมป์ต่างๆที่ให้คุณพร้อมใช้งานอีก 32 โปรแกรม
ToneLabSE มาพร้อมกับเครื่องตั้งสายโครมาติกในตัว มีแป้นเหยียบ Expression Pedal ที่หน้าตาเหมือน Vox Wah สองแป้น ซึ่งเราสามารถใช้เป็น wah wah , วอลลุ่มเท้า หรือจะใช้เป็นตัวคอนโทรลลักษณะของเสียงเอฟเฟกต์ก็ได้ มีปุ่มเหยียบสำหรับ Control 1 ปุ่ม, F/X On/Off 1 ปุ่ม, คอนโทรลชนิดของเอฟเฟกต์ 4 ปุ่ม, เลือกแชนนัล A/B 1 ปุ่ม, เลือกโปรแกรม Bank Up และ Down อีก 2 ปุ่ม ซึ่งฟังก์ชั่นทั้งหมดช่วยให้ผู้เล่นสามารถควบคุมการทำงาน ToneLabSE ได้ด้วยเท้า นับเป็นวิธีที่สะดวกอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานบนเวที
นอกจากเอฟเฟกต์ที่มีอยู่ใน ToneLabSE แล้ว คุณยังสามารถพ่วงต่อเข้ากับเอฟเฟกต์ภายนอกได้อีก อย่างพวกสตอมพ์บ็อกซ์ที่เพิ่มเติมเข้ามา โดยผ่านช่อง Send/Return และช่องต่อ MIDI In/Out ก็ช่วยให้สามารถใช้งาน ToneLabSE ร่วมกับซีเควนเซอร์หรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ Sound Editor ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพการปรับแต่งซาวด์และค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงการจัดการและจัดเก็บโปรแกรมต่างๆไว้ใน ToneLabSE ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถดาวน์โหลด ToneLabSE Sound Editor ได้จากเว็บไซต์ของ Vox : http://www.voxamps.co.uk หรือ http://www.valvetronix.com
|
©Copyright 2005 Beh Ngiep Seng Musical Instruments Ltd.,Part. All reserved. |
|